this polar bear is too cute!  and it's so true too, usually how i am most of the day unless i have caffeine

วันจันทร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2560

ติดต่อ

หากมีข้อสงสัยใดๆ ติดต่อเจ้าของบล็อคได้ที่

ningii1743@gmail.com

















นกยูง






นกยูง (อังกฤษ: Peacock, Peafowl) เป็นสัตว์ปีกจำพวกไก่ฟ้าขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์เดียวกันนี้ มีจุดเด่นคือ เพศผู้มีขนหางยาวที่มีสีสันสวยงาม ที่เมื่อแผ่ขยายออกเพื่ออวดเพศเมียจะมีความสวยงามเป็นอย่างยิ่ง ที่เรียกว่า "รำแพน"
นกยูงใช้ชื่อสกุลว่า Pavo ชอบอาศัยอยู่ในป่าดิบแล้งและป่าผลัดใบผสมตามริมลำธารในป่า มีพฤติกรรมมักร้องตอนเช้าหรือพลบค่ำ กินอาหารจำพวกเมล็ดพืช แมลง และสัตว์เล็ก ๆ มีการกระจายพันธุ์อยู่ทางเหนือของประเทศอินเดียไปทางทิศตะวันออกผ่านพม่า, ตอนใต้ของประเทศจีน, ไทย, ลาว, เวียดนาม, กัมพูชา, มาเลเซียและชวา




นกยูงไทย หรือ นกยูงสีเขียว (อังกฤษ: Green peafowl; ชื่อวิทยาศาสตร์: Pavo muticus มาจากภาษาละติน Pavo, นกยูง; muticus, เชื่อมต่อ หรือ ตัดทอน) เป็นไก่ฟ้าขนาดใหญ่ที่พบในป่าเขตร้อนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นญาติใกล้ชิดกับนกยูงอินเดียหรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่านกยูงสีฟ้า (ชื่อวิทยาศาสตร์: Pavo cristatus) ที่ส่วนมากพบในอนุทวีปอินเดีย





เต่าญี่ปุ่น





เต่าญี่ปุ่น หรือ เต่าแก้มแดง (อังกฤษ: Red-eared slider; ชื่อวิทยาศาสตร์: Trachemys scripta elegans) เป็นเต่าน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ทวีปอเมริกาเหนือ จัดเป็นชนิดย่อยของเต่าแก้มแดง (T. scripta)มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำแถบรัฐอิลลินอยส์, แม่น้ำมิสซิสซิปปี ไปจนถึงอ่าวเม็กซิโก
เหตุที่ได้ชื่อว่า เต่าญี่ปุ่นเพราะว่าในประเทศไทย พ่อค้าชาวญี่ปุ่นเป็นบุคคลแรกที่นำเต่าชนิดนี้มาขาย จึงทำให้ได้ชื่อว่า เต่าญี่ปุ่น
ลักษณะเมื่อแรกเกิด กระดองจะเป็นสีเขียว เมื่อโตขึ้นจะเปลี่ยนไปเป็นสีคล้ำ เท้าทั้ง 4 ข้างมีพังผืดใช้ว่ายน้ำได้ดี มีจุดเด่นคือ รอบ ๆ ดวงตามีสีแดง จึงทำให้ได้ชื่อว่า เต่าแก้มแดง ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 1 ฟุต โดยที่ตัวผู้จะมีขนาดเล็กกว่าตัวเมียเล็กน้อย กินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ แม้กระทั่งลูกเป็ดขนาดเล็กที่กำลังว่ายน้ำอยู่ ผสมพันธุ์กันในน้ำระหว่างเดือนมีนาคม-มิถุนายน จากนั้นในเดือนสิงหาคม ตัวเมียจะขึ้นมาวางไข่ในหาดทราย ไข่ใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 60-75 วัน อายุเมื่อพร้อมที่จะผสมพันธุ์ประมาณ 2 ปี และมีอายุขัยโดยเฉลี่ย 30 ปี

 เต่าญี่ปุ่น นิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลินมาก ด้วยเป็นที่รู้จักกันดีจากการที่ถูกอ้างอิงถึงในภาพยนตร์การ์ตูนชุด Teenage Mutant Ninja Turtles ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในยุคทศวรรษที่ 80 และ90 ในประเทศไทยมีการเลี้ยงกันมานานกว่า 30 ปี ได้รับความนิยมอย่างยิ่งเนื่องจากความน่ารักในเต่าขนาดเล็กประกอบกับมีราคาถูก แต่ทว่าก็ได้กลายเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วยเช่นกัน เนื่องจากเมื่อเต่าโตขึ้นแล้วไม่สวยน่ารักเหมือนอย่างเก่า เจ้าของจึงนำไปปล่อยลงแหล่งน้ำธรรมชาติ กลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่น เนื่องจากสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในประเทศไทยได้เป็นอย่างดี และยังทนทานต่อมลภาวะได้ดีกว่าเต่าพื้นเมือง ทำให้แพร่ขยายพันธุ์แย่งอาหารและถิ่นที่อยู่ของเต่าพื้นเมืองไทย รวมถึงยังเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในที่อื่น ๆ ด้วย เช่น กรุงลอนดอน ในประเทศอังกฤษ

อัลปากา




อัลปากา (สเปน: alpaca) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Vicugna pacos เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อยู่ในวงศ์อูฐ (Camelidae) มีลักษณะคล้ายคลึงกับตัวยามา อัลปากาเป็นสัตว์ที่อยู่รวมกันเป็นฝูง พบได้ในที่สูงบริเวณแถบเทือกเขาแอนดีสในทวีปอเมริกาใต้ซึ่งได้แก่ ตอนใต้ของประเทศเปรู ตอนเหนือของประเทศโบลิเวีย ประเทศเอกวาดอร์ และตอนเหนือของประเทศชิลี อัลปากาเป็นสัตว์ที่มีความทรหดอดทนมาก โดยจะอยู่บริเวณที่ระดับความสูงจากน้ำทะเลประมาณ 3,500 เมตร (11,000 ฟุต) ถึง 5,000 เมตร (16,000 ฟุต)

ลักษณะ

อัลปากาเป็นสัตว์ที่ไม่มีฟันหน้า มีความสูงเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 180 เซนติเมตร ลักษณะคล้ายยามา แต่จะแตกต่างกันตรงที่อัลปากาไม่ได้ถูกเลี้ยงไว้ใช้ขนสัมภาระ แต่จะถูกเลี้ยงเพื่อนำขนมาทำเป็นเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม ขนอัลปากานำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ตั้งแต่ผ้าห่ม เสื้อกันหนาว หมวก ถุงมือ ผ้าพันคอ และเครื่องนุ่งห่มประเภทต่าง ๆ โดยขนของอัลปากาตามธรรมชาติมีหลายสี โดยในเปรูมีการจำแนกสีขนออกเป็น 52 สี ขณะที่ทางออสเตรเลียจำแนกไว้ 12 สี และสหรัฐอเมริกาจำแนกเป็น 16 สี
ขนอัลปากาได้ชื่อว่าเป็นขนสัตว์ที่นุ่มที่สุดในโลกจนได้รับการขนามนามว่า "เส้นใยจากพระเจ้า" ขนของอัลปากาเมื่อตัดแล้วจะมีราคาขายสูงถึงกิโลกรัมละ 30,000 บาท

พฤติกรรม

อัลปากามีเสียงร้องหลายเสียง มักร้องเสียงแหลมสูงเมื่อตกอยู่ในภัยอันตราย หมาหรือแมวที่แปลกหน้าอาจทำให้อัลปากานึกว่าตนตกอยู่ในภัยอันตรายได้ มักทำเสียงดูดเพดานอ่อนหรืออาจทำเสียงในโพรงจมูกเมื่อแสดงความเป็นมิตร
อัลปากามักฮัมเป็นเพลงสั้น ๆ เมื่ออยากแสดงให้อัลปากาตัวอื่นรู้ว่าตนอยู่ใกล้หรือกำลังมีความสุข โดยมีเสียงฮัมที่แตกต่างกันไปในแต่ละตัว
มักร้องสูงเหมือนนกเมื่อตัวผู้ต่อสู้กัน ซึ่งอาจเป็นเสียงที่ทำให้ศัตรูหวาดกลัว อัลปากาจะรู้สึกว่าเป็นอันตรายหรือถูกคุกคามเมื่อถูกสัมผัสที่ช่วงก้น และจะป้องกันตัวด้วยการพ่นน้ำลายออกมาเหมือนอูฐ

สัตว์เลี้ยง

ปัจจุบัน มีการนิยมเลี้ยงอัลปากากันหลากหลายมากขึ้นในฐานะของปศุสัตว์และสัตว์เลี้ยง เนื่องจากเป็นสัตว์ที่เชื่องต่อผู้เลี้ยง ผู้ที่มีชื่อเสียงที่เลี้ยงอัลปากาไว้ในฐานะสัตว์เลี้ยง คือ นิโคล คิดแมน และ รอเบิร์ต ดาวนีย์ จูเนียร์ นักแสดงฮอลลีวุด มีราคาซื้อขายกันสูงถึงตัวละหลักแสนหรือล้านบาท อัลปากาสามารถเลี้ยงไว้ในบ้านได้เหมือนกับสุนัขโกลเดินริทรีฟเวอร์ตัวหนึ่ง ให้อาหารด้วยหญ้าและเสริมด้วยอาหารเม็ด อัลปากาเป็นสัตว์ที่รักสะอาด ขับถ่ายอย่างเป็นที่เป็นทางในพื้นทรายที่เตรียมไว้ให้ และเป็นสัตว์ที่ไม่มีกลิ่นเหม็นแม้ไม่ได้อาบน้ำ อัลปากาจะอาบน้ำต่อเมื่อถูกส่งเข้าประกวด ซึ่งต้องใช้เวลาเป่าขนนานถึง 4 ชั่วโมงให้แห้งต่อตัว
ในประเทศไทย มีฟาร์มเลี้ยงอัลปากาที่ใหญ่ที่สุดอยู่ที่อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี บนพื้นที่กว่า 250 ไร่



นกแก้วมาคอร์




มาคอว์ (อังกฤษ: Macaw) เป็นสัตว์ปีกอยู่ในวงศ์ Psittacidae มาคอว์จัดเป็นนกในตระกูลปากขอที่มีขนาดใหญ่ นิยมเลี้ยงกันมากเนื่องจากมีสีสันที่สวยงาม เชื่อง และสามารถพูดเลียนเสียงคนได้
มาคอว์ถือเป็นนกแก้วที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีถิ่นกำเนิดในเม็กซิโกและอเมริกาใต้ มีสีสันสวยงาม มีเสียงร้องที่ดังมากจะงอยปากจะใหญ่เป็นพิเศษ เหนือปากด้านบนจะมีสีขาวเส้นเล็กๆ คาดระหว่างปากกับหัว บนหัวมีขนสีเขียวสดและสีฟ้า ดวงตามีขนเป็นลายเส้นดำ 4-5 เส้น ขนบริเวณคอจนถึงหน้าอกเป็นสีเหลืองเข้มและขนหางมีสีแดงสด ขาสั้นใหญ่ แข็งแรง ขนที่ปีกบางทีก็เป็นสีฟ้าและสีเหลืองหรือสีเขียวเหลือง ขนาดของนกแก้วมาคอว์มีขนาดตั้งแต่ 32-35 นิ้ว
อาหารของมาคอว์คือ ผลไม้และเมล็ดธัญพืช ชอบอยู่กันเป็นฝูงขนาดใหญ่ ในฤดูผสมพันธุ์จะจับคู่กันแบบคู่ใครคู่มัน และไปสร้างรังตามต้นไม้ใหญ่เพื่อวางไข่ วางไข่ครั้งละ 3-4 ฟอง ใช้เวลาฟักไข่ 30-35 วัน ขนของลูกนกจะขึ้นหลังจาก 3 สัปดาห์และขึ้นจนเต็มตัวและมีสีสันสวยงาม ลูกนกจะแข็งแรงเต็มที่เมื่ออายุสามเดือน ในระหว่างที่ยังเล็กต้องอาศัยอาหารจากแม่นกที่นำมาป้อน โดยจะใช้ปากจิกกินอาหารจากปากแม่ของมันจนกระทั่งลูกนกสามารถช่วยตนเองได้ และในที่สุดมันก็จะบินและหาอาหารเองโดยไม่ต้องอาศัยพ่อแม่อีกต่อไป


การเลี้ยง

มาคอว์จัดเป็นนกที่สามารถฝึกให้เชื่อง เป็นนกที่มีความจำดีและมีความพยาบาทรุนแรง ดุร้าย น่ากลัวมากเท่ากับความอ่อนโยนอ่อนน้อมน่ารักชวนให้ปราณีของมัน โดยอุปนิสัยแล้วมาคอว์เป็นนกที่ชอบสะอาด หากผู้เลี้ยงอาบน้ำให้มันเป็นประจำ มาคอว์จะมีความสุขมาก ดังนั้นผู้เลี้ยงควรใช้น้ำจากฝักบัวรดให้นกได้อาบน้ำบ่อยครั้ง ในฤดูฝนควรอาบน้ำให้ในกลางแจ้ง เพื่อให้นกได้อาบน้ำฝนบ้าง แล้วควรนำนกมาไว้ในที่มีแดดดอนๆ และอากาศบริสุทธิ์ มาคอว์เป็นนกที่ไม่ชอบอยู่โดดเดี่ยวเช่นเดียวกับนกแก้วชนิดอื่นๆ
มาคอว์ที่ได้รับการเลี้ยงดูเป็นอย่างดีจะสนิทสนมกับผู้เลี้ยง หากผู้เลี้ยงห่างเหินมาคอว์จะโศกเศร้าแสดงอารมณ์ออกมาอย่างชัดเจน ดังนั้นคนที่เลี้ยงมาคอว์ควรจะให้ความสนใจและดูแลอย่างใกล้ชิด มาคอว์เป็นนกที่มีขนาดใหญ่มาก มีปากที่แหลมคม ประสาทตาไวมาก มีความฉลาดและน่ารักในตัวของมันเอง เป็นนกที่เชื่องมาก หากเจ้าของเอาใจใส่มัน มันก็จะรักเราเหมือนที่เรารักมัน สามารถสอนให้เล่นจักรยาน สอนกิจกรรมต่างๆ ได้แต่ต้องหมั่นฝึกฝนจึงจะเป็น

การจำแนกชนิดตามชื่อและสี

มาคอว์สามารถจำแนกชนิดตามชื่อและสีได้ 9 ชนิดดังนี้
  1. Red and Yellow Macaw (เรด-แอนด์-เยลโล่-มาคอว์) มีสีแดงแกมเหลือง ถิ่นอาศัยดั้งเดิมเข้าใจว่าคือ อเมริกา ลำตัวยาวประมาณ 36 นิ้ว ลำตัวสีแดงสด ปีกและหางสีน้ำเงินเขียว แก้มสีขาวและส้ม เพศเมียจะมีขนาดเล็กกว่า สีแดงบนกระม่อนจะอ่อนกว่าตัวผู้ ราคาแพง
  2. Red and Blue Macaw (เรด-แอนด์-บลู-มาคอว์) มีสีแดงแกมน้ำเงิน ถิ่นอาศัยดั้งเดิมมาจากอเมริกาใต้ ลำตัวยาวประมาณ 3 ฟุต มีสีฟ้าประปรายทั่วร่างกาย จะงอยปากสีดำ เป็นมาคอว์ที่ได้รับความนิยมปานกลาง
  3. Blue and Yellow Macaw (บลู-แอนด์-เยลโล่-มาคอว์) มีสีน้ำเงินแกมเหลือง ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในทวีปอเมริกา คอหอยมีสีฟ้าแกมเขียว อกสีเหลืองสด เป็นมาคอว์ที่มีความนิยมสูงในประเทศไทย ลำตัวยาวประมาณ 3 ฟุต
  4. Brazil Macaw (บราซิล-มาคอว์) มีถิ่นกำเนิดในประเทศบราซิล ลำตัวมีสีเขียวสดข้างแก้มมีสีเหลือง จะงอยปากสีดำ ในประเทศไทยราคาไม่สูงมากนัก
  5. Severe Macaw (เซเวอร์-มาคอว์) มีลำตัวสีเขียวเข้มจัดกว่ามาคอว์ชนิดอื่น บนหัวมีสีน้ำตาลและฟ้า เป็นมาคอว์ขนาดเล็ก ลำตัวยาวประมาณ 20 นิ้ว
  6. Lear's Macaw (เลอ-มาคอว์) เป็นนกแก้วสีฟ้าทึมๆ เป็นมาคอว์ขนาดกลาง ลำตัวยาวประเมาณ 28 นิ้ว
  7. Hyacinthine Macaw (ไฮยาซิน-มาคอว์) มีสีฟ้าอมม่วงเว้นแต่บริเวณข้อพับของปีกจะมีสีเหลือง เป็นมาคอว์ขนาดใหญ่ ลำตัวยาวประมาณ 34 นิ้ว มีราคาซื้อขายที่สูง
  8. Military Macaw (มิลลิแทรี่-มาคอว์) มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "มาคอว์สีกากี" เป็นมาคอว์ขนาดกลาง ลำตัวยาวประมาณ 27 นิ้ว มีสีเขียวอ่อนเคลือบเหลือง หน้าผากสีแดงสด ปีกสีน้ำตาลค่อนไปทางเหลือง สะโพกและหางสีฟ้า
  9. Illiger’s Macaw (อิลลิเชอร์-มาคอว์) มีสีเขียวเข้ม หน้าผาก สะโพกและใต้ท้องมีสีแดงสด มีขนสีน้ำตาลและฟ้าแตะปะปรายทั่วไป เป็นมาคอว์ขนาดเล็ก ลำตัวยาวประมาณ 16 นิ้ว

การจำแนกชนิดตามสายพันธุ์ทางวิทยาศาสตร์

สายพันธุ์มาคอว์มีอยู่ 17 ชนิด สามารถจำแนกชนิดตามสายพันธุ์ทางวิทยาศาสตร์ได้ 4 ชนิดดังนี้
  1. Genus Ara เป็นหนึ่งในสี่ของสายพันธุ์ที่แบ่งตามความใหญ่ (large macaws) ของขนาดและการแบ่งของสี (vivid coloration) ที่เห็นได้ชัดเจนในกลุ่มนี้ เช่น Blue and Gold Macaw, Green-winged Macaw เป็นต้น
  2. Genus Diopsittaca ในกลุ่มที่สองนี้ได้แบ่งตามสีที่อยู่ที่หัวไหล่หรือบ่ามีสีแดง (Red-shouldered Macaw species (nobilis)) เช่น Hahn's Macaw, Noble Macaw จะรวมเป็นสายพันธุ์ย่อยของกลุ่ม genus Ara เป็นต้น
  3. Genus Anodorhynchus ในกลุ่มที่สามนี้ได้แบ่งตามสีที่เด่นชัดสีเขียวอมน้ำเงิน (The Glaucous (glaucogularis)) ได้แก่ Hyacinth (hyacinthinus) และ Lear's or Blue (leari) Macaws
  4. Genus Cyanopsitta ในกลุ่มที่สี่ได้แบ่งตามลักษณะคล้ายกับกลุ่มที่สามนี้ โดยมีอยู่เพียงชนิดเดียว คือ Spix's (spixii) Macaw
ทั้งหมดเป็นการแบ่งสายพันธุ์ทางวิทยาศาสตร์ในกลุ่มต่างๆ โดยยังมีการแบ่งเป็นชื่อเรียกย่อยอีก ยกตัวอย่างของกลุ่ม Genus Ara ที่มีชนิด Blue and Gold ก็จะใช้ชื่อทางวิทยาศาสตร์ ว่า Ara ararauna: Blue and Gold เป็นต้น

กระต่าย




กระต่าย (อังกฤษ: Rabbit) เป็นสัตว์ที่จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อันดับกระต่าย (Lagomorpha) ในวงศ์ Leporidae
กระต่ายแม้จะมีฟันแทะเหมือนกับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) แต่ถูกจัดออกมาเป็นอันดับต่างหาก เนื่องมีจำนวนฟันที่ไม่เท่ากัน เพราะกระต่ายมีฟันแทะที่ขากรรไกรบน 2 แถว เรียงซ้อนกันแถวละ 2 ซี่ ฟันกรามบนข้างละ 6 ซี่ และฟันกรามล่างข้างละ 5 ซี่ เมื่อเวลาเคี้ยวอาหาร กระต่ายจะใช้ฟันทั้ง 2 ด้านเคี้ยวสลับกันไป ต่างจากสัตว์ฟันแทะโดยทั่วไปที่เคี้ยวเคลื่อนหน้าเคลื่อนหลัง ซึ่งสามารถเขียนเป็นสูตรได้ว่า {\displaystyle (1{\tfrac {2}{2}},C{\tfrac {0}{0}},P{\tfrac {3}{2}},M{\tfrac {2}{3}})X2=28}
กระต่ายเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดเล็ก มีขนปุกปุยทั่วลำตัว มีหางกลมสั้น มีใบหูยาวเมื่อเทียบกับสัตว์อื่น ซึ่งวิวัฒนาการมาใช้สำหรับฟังเสียงได้เป็นอย่างดี และยังมีประสาทสัมผัสในการดมกลิ่นที่ดีมาก กระต่ายมีขาหน้าที่มี 5 นิ้ว ขาหลังมี 4 นิ้ว มีสะโพกที่ยาวและทรงพลัง เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ จึงสามารถกระโดดได้เป็นอย่างดี เคยมีการประกวดการกระโดดของกระต่ายที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ กระต่ายตัวที่กระโดดได้สูงที่สุดกระโดดได้สูงถึง 99.5 เซนติเมตรเลยทีเดียว[1] ใต้ฝ่าตีนของกระต่ายมีขนนุ่ม ๆ รองรับอยู่ เพื่อมิให้เกิดเสียงเมื่อเคลื่อนไหว กระต่ายเป็นสัตว์ที่ตื่นตกใจง่ายและมีความว่องไวปราดเปรียวมากในการระแวดระวังภัย นอกจากนี้แล้วตาของกระต่ายยังมีหนังตาหรือเปลือกตาถึง 3 ชั้นด้วยกัน ดวงตาของกระต่ายมีลักษณะกลมโต ทำให้กระต่ายสามารถเหลือบมองภาพด้านหลังได้โดยที่ไม่ต้องหันหัวเลย กระต่ายจัดเป็นสัตว์ที่มีระบบการมองเห็นที่ดีกว่าสัตว์ชนิดอื่น ๆ มาก แต่กระต่ายสามารถมองเห็นสีได้เพียงแค่ 2 สีเท่านั้น คือ สีเขียวและสีน้ำเงิน และจะยิ่งมองได้ชัดเจนขึ้นเมื่ออยู่ในที่มืด
กระต่ายเป็นสัตว์ที่กินพืชเป็นอาหารเท่านั้น ต่างจากสัตว์ฟันแทะที่กินได้ทั้งเนื้อและพืช อาหารของกระต่ายได้แก่ หญ้าและพืชผักชนิดต่าง ๆ อายุขัยโดยเฉลี่ยของกระต่ายจะอยู่ที่ 2-3 ปี หรือเต็มที่ก็ 5-10 ปี นับเป็นสัตว์ที่สืบพันธุ์เร็วมาก โดยปีหนึ่ง ๆ กระต่ายสามารถออกลูกได้ถึง 2-3 ครั้ง ครั้งละประมาณ 2-3 ตัว กระต่ายในธรรมชาติ มักอาศัยอยู่ในที่ราบโล่งที่เป็นทุ่งหญ้ามากกว่าป่าทึบ โดยขุดโพรงใต้ดินเป็นรังและที่อยู่อาศัย ลูกกระต่ายป่าในธรรมชาติ เมื่อแรกเกิดจะลืมตา และในวันรุ่งขึ้นก็สามารถวิ่งและกระโดดได้เลย เมื่อกระต่ายตัวเมียจะคลอดลูก จะแยกออกจากรังเดิมไปขุดรังใหม่ เพื่อป้องกันลูกอ่อนจากกระต่ายตัวผู้ ซึ่งอาจฆ่าลูกกระต่ายเกิดใหม่ได้ โดยจะกัดขนตัวเองเพื่อปูรองรับลูกใหม่ที่จะเกิดขึ้นมา นอกจากนี้แล้วตามธรรมชาติของกระต่าย ไม่ว่าจะเป็นกระต่ายป่าหรือกระต่ายบ้าน จะมีพฤติกรรมกินมูลของตัวเองที่ขับถ่ายออกมา มูลลักษณะนี้ถูกเรียกว่า "มูลพวงองุ่น" เป็นมูลซึ่งยังมีสารอาหารอยู่ ที่กระต่ายไม่สามารถย่อยหรือดูดซึมสารอาหารไปได้หมด จึงต้องกินเข้าไปในร่างกายอีกครั้งเพื่อดูดซึมสารอาหารให้หมด
กระต่ายกระจายพันธุ์ไปในทุกภูมิภาคทั่วโลก ไม่เว้นแม้กระทั่งเขตอาร์กติก ยกเว้นโอเชียเนียและทวีปออสเตรเลีย ในประเทศไทยพบกระต่ายที่เป็นกระต่ายสายพันธุ์ที่มีอยู่ในธรรมชาติเพียงชนิดเดียว คือ กระต่ายป่า (Lepus peguensis)
กระต่ายโดยธรรมชาติ เป็นสัตว์ที่อยู่สุดปลายของห่วงโซ่อาหาร ด้วยเป็นอาหารของสัตว์กินเนื้อชนิดต่าง ๆ เช่น หมาป่า, หมาจิ้งจอก, แมวป่า, เสือชนิดต่าง ๆ, หมาใน, ชะมด, เพียงพอน รวมถึงงูขนาดใหญ่ด้วย เช่น งูหลามและงูเหลือม
กระต่ายเป็นสัตว์ที่ผูกพันกับมนุษย์มาเป็นเวลานาน ด้วยการเป็นสัตว์ที่ถูกล่าเพื่อเป็นอาหารและเกมกีฬาโดยเฉพาะในแถบทวีปยุโรป ในเชิงวัฒนธรรมและความเชื่อ ชาวตะวันตกเชื่อว่า การพกตีนกระต่ายจะนำมาซึ่งโชคดี ความเชื่อนี้เชื่อกันอย่างมากโดยเฉพาะในทวีปอเมริกาเหนือ เชื่อว่า หากพกตีนกระต่ายที่เป็นตีนของขาหลังด้านซ้าย และหากคนที่ฆ่ากระต่ายตัวนั้นเป็นคนตาเหล่ หรือจับกระต่ายตัวนั้นได้ในสุสานหรือในคืนวันพระจันทร์เต็มดวง หรือคืนวันศุกร์ที่ 13 ก็จะยิ่งช่วยให้โชคดียิ่งขึ้น


ชาวจีนและชาวญี่ปุ่นเชื่อว่า กระต่ายเป็นเทพเจ้าแห่งดวงจันทร์ มีหน้าที่ปรุงยาอายุวัฒนะ เป็นสัตว์เลี้ยงของฉางเอ๋อ เทพธิดาแห่งดวงจันทร์ การมอบรูปลักษณ์ของกระต่ายจึงถือเป็นการมอบความปรารถนาให้โชควาสนาให้แก่กัน
นอกจากนี้แล้วในทางโหราศาสตร์ กระต่ายยังเป็นตัวแทนของนักษัตรลำดับที่ 4 คือ ปีเถาะ ที่ใช้สัญลักษณ์เป็นกระต่ายและยังได้กลายมาเป็นต้นแบบของตัวการ์ตูนหลากหลายตัว เช่น โรเจอร์ แรบบิท, บักส์ บันนี ที่ได้ต้นแบบมาจากกระต่ายป่าที่ปราดเปรียว หรือมาชิมาโร่ ของเกาหลีใต้ที่เป็นสื่อเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต โดยตัวละครการ์ตูนกระต่ายตัวแรกของโลก มีชื่อว่า "ออสวอลด์" ปรากฏตัวในภาพยนตร์การ์ตูนเรื่อง Oswald the Lucky Rabbit เมื่อปี ค.ศ. 1927 จากการสร้างสรรค์ของวอลต์ ดิสนีย์ในปัจจุบัน กระต่ายได้กลายมาเป็นสัตว์เลี้ยงของมนุษย์ทั้งในแง่ของการเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงาม และสัตว์เศรษฐกิจเพื่อรับประทานเนื้อ โดยกระต่ายชนิดที่นำมาพัฒนาสายพันธุ์จนเป็นสัตว์เลี้ยงนั้น โดยมากจะเป็นชนิด กระต่ายยุโรป (Oryctolagus cuniculus) ที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในทวีปยุโรป ซึ่งกระต่ายสายพันธุ์สวยงามนั้นก็มีด้วยกันหลากหลายมากมาย โดยมีขนาดแตกต่างกันออกไปตามขนาดและลักษณะลำตัว เช่น เนเธอร์แลนด์ดวอฟ, โปลิช, ฮอลแลนด์ลอป ซึ่งเป็นกระต่ายขนาดเล็ก และอิงลิชลอป ที่เป็นกระต่ายขนาดใหญ่ เป็นต้น โดยมีองค์กรที่ทำการรองรับและจัดมาตรฐานสายพันธุ์กระต่ายในระดับสากล คือ สมาคมผู้พัฒนาสายพันธุ์กระต่ายแห่งสหรัฐอเมริกา (ARBA) กระต่ายสายพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือ คอนทิเนนทัล ไจแอนท์ ที่เมื่อโตเต็มที่แล้วมีน้ำหนักมากได้ถึง 20 กิโลกรัม และมีขนาดพอ ๆ กับสุนัขขนาดกลางตัวหนึ่ง และสถิติกระต่ายที่มีอายุยืนที่สุดในโลก คือ 16 ปี 14 วัน เป็นกระต่ายสายพันธุ์เจอร์ซี วูลลี ที่เป็นกระต่ายสายพันธุ์ขนยาว ชื่อ "ดู" (Do)

แกะ แพะ





แกะ เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้อง กินอาหารประเภทพืชและหญ้าเป็นหลัก มีขนหนาฟู ออกลูกเป็นตัวและเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม แกะบางพื้นที่กินดอกไม้และแมลงบางชนิด เช่น แกะภูเขา ส่วนใหญ่แกะจะอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ มีถิ่นอาศัยอยู่ตามพื้นที่หนาวเย็น แถบภูเขาและพื้นที่ราบโล่ง เช่น ประเทศนิวซีแลนด์ และประเทศออสเตรเลีย อเมริกาตอนกลาง และตอนใต้ของประเทศแคนาดา โดยมีการกระจายอยู่ตลอดแถบประเทศเขตหนาว ในโลกนั้นมีมากกว่า 200 สายพันธุ์ โดยมีตั้งแต่สายพันธุ์ดังเดิมจนถึง สายใหม่ที่ถูกผสมพันธุ์โดยธรรมชาติ และสายพันธุ์ที่มนุษย์พัฒนาเพื่อเพิ่มคุณภาพของการใช้งานผลิตภัณฑ์ เช่น ขนสัตว์, เนื้อ, นม

ประเภทของแกะ

แบ่งออกเป็นหลายประเภท โดยแบ่งแยกตามกะโหลกศีรษะ มีอยู่เป็น 2 แบบ
  • กะโหลกแบบมีเขางอก เป็นแกะในจำพวกแกะภูเขา และแกะที่มีลักษณะขนสั้นแต่ใหญ่ เพื่อใช้ในการต่อสู้และป้องกันตัวตามธรรมชาติ
  • กะโหลกเล็กไม่มีเขางอก เป็นแกะบ้านเหมาะสำหรับการเลี้ยง เอาเนื้อ นม ขนไปใช้ มีหลากหลายพันธุ์ทั้งแบบขาวนวลและดำนวล โดยภายหลังมีการผสมได้สายพันธุ์ใหม่ๆ อีกมากมาย


 แพะ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Capra aegagrus hircus) เป็นชนิดย่อยของแพะซึ่งทำให้เชื่องจากแพะป่าในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้และยุโรปตะวันออก แพะนี้อยู่ในสกุล Bovidae และสัมพันธ์ใกล้ชิดกับแกะเพราะต่างอยู่ในวงศ์ย่อยแกะและแพะ (Caprinae) มีแพะกว่า 300 สายพันธุ์ แพะเป็นชนิดสัตว์เชื่องที่เก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่ง ใช้เอานม เนื้อ ขนและหนังในหลายบริเวณของโลก ในปี พ.ศ. 2554 มีแพะกว่า 924 ล้านตัวทั่วโลก ตามข้อมูลขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ